อบรม จป หัวหน้างาน
Safety Supervisor
ให้บริการฝึกอบรมหลักสูตร จป หัวหน้างาน , จป บริหาร , จป เทคนิค , อบรม คปอ ได้รับอนุญาตจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน พร้อมมอบส่วนลดพิเศษให้กับคุณ
เลขที่ใบอนุญาต จป. 63 – 010
หลักสูตรที่เกี่ยวข้อง
หลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานตาม กฎกระทรวง การจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงานหรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ.2565

อบรม จป.บริหาร

อบรม จป เทคนิค

อบรม คปอ

อบรม จป หัวหน้างาน หลักสูตร 2 วัน
เรียนบทบาทหน้าที่ของ จป หัวหน้างาน ตามตำแหน่ง กฎหมายใหม่ความปลอดภัย 2565 เพื่อทราบถึงแนวทางการทำงาน จป หัวหน้างาน อย่างมืออาชีพ
จป หัวหน้างาน คือใคร ?
จป หัวหน้างานหมายถึง เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับ หัวหน้างาน ซึ่งกฎหมายใหม่ 2565 ได้กำหนดให้ จป หัวหน้างานนั้นเเป็นโดยตำแหน่งไม่สามารถปฏิเสธได้หากคุณเป็น หัวหน้างาน นั้นหมายถึงคุณคือ จป หัวหน้างานด้วย เช่นกัน
ขึ้นทะเบียน จป หัวหน้างาน ต้องทำอย่างไร
แนะนำแนวทางการขึ้นทะเบียนหลังจบการ อบรม จป หัวหน้างาน เพื่อนำไปยื่นขึ้นทะเบียนกับกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานในพื้นที่จังหวัดของตนเอง

ตารางฝึกอบรม จป หัวหน้างาน
-
Monday8:00 AM - 9:00 PM
-
Weekdays8:00 AM - 9:00 PM
-
Sat - Sunday8:00 AM - 9:00 PM
-
Holiday8:00 AM - 9:00 PM
-
New Year8:00 AM - 9:00 PM
หลักสูตร จป หัวหน้างาน
ผู้เข้าอบรม จะต้องอบรมครบตามจำนวน 12 ชั่วโมง / 2 วัน และผ่านการทดสอบตามหลักเกณฑ์ที่ทางราชการกำหนด
คุณสมบัติผู้อบรม
จะต้องเป็น จป หัวหน้างาน ในบริษัทที่ส่งอบรม ได้รับการแต่งตั้งจากผู้มีอำนาจในองค์กร
รูปแบบการอบรม
มี 2 แบบ
- อบรม จป หัวหน้างาน แบบอินเฮ้าส์
- อบรม จป หัวหน้างาน แบบบุคคลทั่วไป
กฎกระทรวง การจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงานหรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ.2565 กำหนดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน ระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง ระดับวิชาชีพ ระดับบริหาร คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน และหัวหน้าหน่วยงาน เพื่อทำหน้าที่ในการบริหารจัดการความปลอดภัยฯ ของสถานประกอบกิจการ
อบรม จป หัวหน้างาน หลักสูตร 2566 เรียนอะไร
โดยที่ กฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. ๒๕๖๕ ข้อ ๔๓ กำหนดให้นายจ้างหรือผู้ให้บริการด้านการฝึกอบรมดำเนินการฝึกอบรมเพื่อให้ลูกจ้างมีคุณสมบัติ เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างานและระดับบริหาร ทั้งนี้ หลักสูตร การฝึกอบรม คุณสมบัติของวิทยากร และการดำเนินการฝึกอบรมของนายจ้างหรือผู้ให้บริการ ด้านการฝึกอบรมให้เป็นไปตามที่อธิบดีประกาศกำหนด
อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๔๓ วรรคสอง แห่งกฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. ๒๕๖๕ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมวด ๑ หลักสูตรการฝึกอบรม
ข้อ ๒ หลักสูตร เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน ระยะเวลา การฝึกอบรมสิบสองชั่วโมง ประกอบด้วย ๔ หมวดวิชา ดังต่อไปนี้
(๑) หมวดวิชาที่ ๑ ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทำงาน และบทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน ระยะเวลา การฝึกอบรมสามชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชา
(ก) ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
(ข) บทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน
(๒) หมวดวิชาที่ ๒ กฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทำงาน ระยะเวลาการฝึกอบรมสามชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชา
(ก) การบริหารกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ของกระทรวงแรงงาน
(ข) สาระสำคัญของกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทำงาน และการนำกฎหมายไปสู่การปฏิบัติ
(๓) หมวดวิชาที่ ๓ การค้นหาอันตรายจากการทำงานและการจัดทำคู่มือว่าด้วย ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ระยะเวลาการฝึกอบรมสามชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชา
(ก) การตรวจความปลอดภัย
(ข) การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย
(ค) การสอบสวน การวิเคราะห์ และการรายงานอุบัติเหตุ
(ง) การจัดทำคู่มือว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ของหน่วยงาน
(๔) หมวดวิชาที่ ๔ การป้องกันและควบคุมอันตรายจากการทำงาน ระยะเวลาการฝึกอบรม สามชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชา
(ก) การป้องกันและควบคุมอันตรายจากเครื่องจักร
(ข) การป้องกันและควบคุมอันตรายจากไฟฟ้า
(ค) การป้องกันและควบคุมอันตรายจากการเคลื่อนย้ายและการจัดเก็บวัสดุ
(ง) การป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบกิจการ
(จ) การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน
(ฉ) การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสารเคมี
(ช) การป้องกันและควบคุมปัญหาด้านการยศาสตร์
(ซ) การป้องกันและควบคุมอันตรายในงานก่อสร้าง
(ฌ) อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล