อบรม คปอ พร้อมมอบวุฒิบัตร ลดราคา 50% 

คปอ. ย่อมาจาก “คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน” ซึ่งเป็นคณะกรรมการที่ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อรับผิดชอบด้านความปลอดภัยภายในองค์กร คณะกรรมการนี้ประกอบด้วยสมาชิกจากทุกภาคส่วนในองค์กร รวมถึงผู้บริหาร, ตัวแทนจากลูกจ้าง, และจป.วิชาชีพ ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นเลขานุการ

คณะกรรมการ คปอ. มีหน้าที่หลักในการพิจารณา นำเสนอ และดำเนินการตามนโยบายและแผนงานที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการทำงาน เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพอนามัยที่ดีให้กับทุกคนในองค์กร

Safety Supervisor

ให้บริการฝึกอบรมหลักสูตร จป หัวหน้างาน , จป บริหาร , จป เทคนิค , อบรม คปอ ได้รับอนุญาตจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน พร้อมมอบส่วนลดพิเศษให้กับคุณ

ตารางอบรม คปอ. ปี 2567

ลงทะเบียนจองวันอบรม คปอ แบบบุคคลทั่วไป รุ่นละไม่เกิน 20 คน เปิดลงทะเบียนทั้ง 8 จังหวัดแล้ววันนี้

สิงหาคม – กันยายน 2567

วันที่
ราคา/ท่าน
สมัคร
8-9 ส.ค
2,300
9-10 ก.ย
2,300

สิงหาคม – กันยายน 2567

วันที่
ราคา/ท่าน
สมัคร
6-7 ส.ค
2,300
11-12 ก.ย
2,300

กันยายน – ตุลาคม 2567

วันที่
ราคา/ท่าน
สมัคร
10-11 ก.ย
2,300
10-11 ต.ค
2,300

สิงหาคม – ตุลาคม 2567

วันที่
ราคา/ท่าน
สมัคร
23-24 ส.ค
2,300
25-26 ต.ค
2,300

สิงหาคม – กันยายน 2567

วันที่
ราคา/ท่าน
สมัคร
21-22 ส.ค
2,000
18-19 ก.ย
2,000

สิงหาคม – กันยายน 2567

วันที่
ราคา/ท่าน
สมัคร
16-17 ส.ค
2,300
18-19 ก.ย
2,300

กรกฎาคม – กันยายน 2567

วันที่
ราคา/ท่าน
สมัคร
12-13 ก.ย
2,300

สิงหาคม – ตุลาคม 2567

วันที่
ราคา/ท่าน
สมัคร
30-31 ส.ค
2,300
30-31 ต.ค
2,300

หมายเหตุ :

สิ่งที่จะได้รับ :

  • วุฒิบัตร (สามารถนำไปขึ้นทะเบียนได้)
  • คู่มือเรียน
  • มีอาหารกลางวัน / น้ำ / ขนม ระหว่างการอบรม
วิทยากรอบรม คปอ มืออาชีพ

รายละเอียดหลักสูตร คปอ.

เรียนบทบาทหน้าที่ของ คปอ. ตามตำแหน่ง กฎหมายใหม่ความปลอดภัย 2565 เพื่อทราบถึงแนวทางการทำงาน คปอ. อย่างมืออาชีพ เปิดอบรมทั้งอินเฮ้าส์ และบุคคลทั่วไป

ระยะเวลาอบรม

ใช้ระยะเวลารวมทั้งหมด 2 วัน (12 ชั่วโมง)

เนื้อหาหลักสูตร

เนื้อหาตามกฎหมายครบ 3 หมวด

วิทยากร

ทีมวิทยากรมีคุณสมบัติตามกฎหมาย และได้ขึ้นทะเบียนทุกคน

บริการอบรมอินเฮ้าส์ ลด 40%

เลือกใช้บริการอบรม จป คปอ แบบอินเฮ้าส์ที่คุณสนใจ ได้ที่นี่

หลักสูตร จป.หัวหน้างาน

แบบอินเฮ้าส์

24,000 บาท

หลักสูตร จป.บริหาร

แบบอินเฮ้าส์

24,000 บาท

หลักสูตร จป.เทคนิค

แบบอินเฮ้าส์

67,500 บาท

หลักสูตร คปอ

แบบอินเฮ้าส์

24,000 บาท

หลักสูตรคปอ ปี 2567 เรียนอะไรบ้าง

ระยะเวลาการฝึกอบรม 3 ชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชา      

(ก) แนวคิดในการจัดการความปลอดภัยฯ ในการทำงาน

(ข) หลักการบริหารคณะกรรมการความปลอดภัย และการทำงานร่วมกันของคณะกรรมการ

(ค) หน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการในการดูแลความปลอดภัยในการทำงาน

ระยะเวลาการฝึกอบรม 3 ชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชา                     

(ก) สาระสำคัญของพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทำงาน พ.ศ. 2554 และกฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2565

(ข) สาระสำคัญของกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานที่เกี่ยวข้อง และการนำกฎหมายไปสู่การปฏิบัติ

ระยะเวลาการฝึกอบรม 6 ชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชา                     

(ก) การจัดทำนโยบายด้านความปลอดภัย ในการทำงาน

(ข) การจัดทำแนวทางการป้องกันและลดการเกิดอุบัติเหตุ การประสบอันตราย การเจ็บป่วย จากการทำงานของลูกจ้าง

(ค) การจัดทำระบบการรายงาน เสนอแนะมาตรการหรือแนวทางการปรับปรุงแก้ไข สภาพการทำงานของลูกจ้าง

(ง) การส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมด้านความปลอดภัยในการทำงาน

(จ) การพิจารณาคู่มือว่าด้วยความปลอดภัย ในการทำงานของสถานประกอบกิจการ

(ฉ) การสำรวจด้านความปลอดภัยในการทำงาน
(ช) การพิจารณาโครงการหรือแผนการฝึกอบรมเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน

(ซ) การประเมินผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน

(ฌ) การประชุมและการติดตามงาน

หลักสูตรนี้เน้นให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจในหน้าที่และความรับผิดชอบของ คปอ  ตลอดจนการจัดการและบริหารความปลอดภัยอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งการปฏิบัติตามกฎหมาย และมาตรฐานที่เกี่ยวข้องเพื่อการรักษาสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัย

— Safety Supervisor — 

ภาพบรรยากาศอบรม คปอ.

ลูกค้าใช้บริการอบรม คปอ อินเฮ้าส์ กับเรา 2567

เมื่อไหร่องค์กรต้องมี คปอ.

หากองค์กรของคุณเป็นประเภทธุรกิจ ที่จัดอยู่ในบัญชี 1, 2 และ3 ตาม กฎกระทรวง การจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงานหรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ.2565 กำหนด

 

องค์กรของคุณต้องมี คปอ. ซึ่งจะตำแหน่งอย่างเป็นทางการก็ต่อเมื่อองค์กรคุณมีจำนวนพนักงานในบริษัททั้งหมด ครบตามกำหนดคือ มีตั้งแต่ 50 คนขึ้นไปต้องมี คปอ ซึ่งจะมีกี่คนนั้น ขึ้นกับจำนวนพนักงานขององค์กร หากมีมากขึ้นก็จะมีสัดส่วน คปอ. มากยิ่งขึ้น

 

หน้าที่ คปอ. ตามกฎหมาย >>

เมื่อไหร่ต้องมี คปอ ในองค์กร
Safety Committee

ข้อดีการอบรม คณะกรรมการความปลอดภัยฯ ในการทำงาน

การอบรมคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (คปอ.) เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้องค์กรสามารถจัดการกับความปลอดภัย และสุขภาพของพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เข้าใจในกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการทำงาน ทำให้สร้างความน่าเชื่อถือและภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กรในการเอาใจใส่ความปลอดภัยของพนักงาน

หลังอบรมคปอ. เสร็จต้องทำอย่างไร

เมื่อผ่านการอบรม ผู้เข้าอบรมจะได้วุฒิบัตร ที่สามารถนำไปขึ้นทะเบียนไปกรมสวัสดิการฯแต่ละจังหวัด ซึ่งมีเอกสารที่ต้องใช้ดังนี้

 

  • สำเนาหนังสือแต่งตั้ง คปอ. 1 ฉบับ
  • สำเนาบัตรประชาชน 1 ฉบับ
  • สำเนาใบรับรองผ่านการฝึกอบรม (คือ วุฒิบัตรที่ได้จากศูนย์ฝึกอบรม) 1 ฉบับ
  • แบบ กภ.คปอ.ผบ 3
เอกสารใช้ยื่นขึ้นทะเบียน คปอ

คำถามที่พบบ่อย

เมื่อมีจำนวนพนักงานในบริษัททั้งหมดครบตามกำหนด ต้องมีการจัดการเลือกตั้งและแต่งตั้ง คปอ, ภายใน 30 วัน

พร้อมจัดอบรมให้ คปอ. ที่ถูกแต่งตั้งภายใน 60 วัน

จำนวนคปอ. ขึ้นอยู่กับจำนวนพนักงานในองค์กรทั้งหมด

– จำนวน 50-99 คน ต้องมี คปอ ไม่น้อยกว่า 5 คน

– จำนวน 100-499 คน ต้องมี คปอ ไม่น้อยกว่า 7 คน

– จำนวน 500 คนขึ้นไป ต้องมี คปอ ไม่น้อยกว่า 11 คน

ช่องทางการส่งเอกสารสามารส่งได้ 3 ช่องทาง

บัญชี 1
  1. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการทำเหมืองตามกฎหมายว่าด้วยแร่
  2. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับกิจการปิโตรเลียมตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม
  3. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับปิโตรเคมี
  4. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม
  5. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการแยกก๊าซธรรมชาติ
บัญชี 2
  1. อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์
  2. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหาร
  3. อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม
  4. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากยาสูบ
  5. อุตสาหกรรมสิ่งทอ
  6. อุตสาหกรรมเสื้อผ้าหรือเครื่องแต่งกาย
  7. อุตสาหกรรมเครื่องหนัง
  8. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากไม้
  9. อุตสาหกรรมกระดาษหรือผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากกระดาษ
  10. อุตสาหกรรมการผลิตสารเคมีหรือเคมีภัณฑ์
  11. อุตสาหกรรมเภสัชภัณฑ์หรือเวชภัณฑ์ทางการแพทย์
  12. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง
  13. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก
  14. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ที่ทำจากแร่อโลหะ
  15. อุตสาหกรรมโลหะหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากโลหะ
  16. อุตสาหกรรมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
  17. อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า
  18. อุตสาหกรรมเครื่องจักรหรือเครื่องมือกล
  19. อุตสาหกรรมยานพาหนะ ชิ้นส่วนยานพาหนะ หรืออุปกรณ์เสริมสำหรับยานพาหนะ
  20. อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์
  21. อุตสาหกรรมเครื่องประดับ
  22. อุตสาหกรรมเครื่องดนตรี
  23. อุตสาหกรรมอุปกรณ์กีฬาออกกำลังกาย
  24. อุตสาหกรรมของเล่น
  25. อุตสาหกรรมเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์
  26. อุตสาหกรรมการผลิต การจัดส่ง หรือการจ่ายไฟฟ้า
  27. อุตสาหกรรมการผลิตหรือการบรรจุก๊าซ
  28. อุตสาหกรรมการผลิตถ่านโค้ก
  29. อุตสาหกรรมการผลิต การเก็บ หรือการจำหน่ายไอน้ำ
  30. อุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์หรือการเพาะปลูก
  31. สถานีบริการตามกฎหมายว่าด้วยการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง
  32. คลังน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง
  33. การให้บริการบำบัดน้ำเสียหรือกำจัดของเสียตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
  34. อุตสาหกรรมการนำวัสดุที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่
  35. อุตสาหกรรมการแต่งแร่ การขุดแร่รายย่อย หรือการร่อนแร่ตามกฎหมายว่าด้วยแร่
  36. การก่อสร้าง การดัดแปลง การซ่อมแซม หรือการรื้อถอนอาคารตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
  37. อุตสาหกรรมการขนส่ง
  38. การบริการการเดินอากาศตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศ
  39. กิจการคลังสินค้า กิจการไซโล หรือกิจการห้องเย็นตามกฎหมายว่าด้วยคลังสินค้า ไซโล และห้องเย็น
  40. กิจการโทรคมนาคมตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม
  41. การติดตั้ง การซ่อม หรือการซ่อมบำรุงเครื่องจักร
  42. โรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม
  43. กิจการนิติบุคคลอาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด
  44. ห้างสรรพสินค้า ธุรกิจค้าปลีก หรือธุรกิจค้าส่ง
  45. ศูนย์การจัดประชุมและการแสดงสินค้า
  46. โรงพยาบาล
  47. การทดสอบและวิเคราะห์การปฏิบัติการทางกายภาพ เคมี ชีวภาพ หรือวิศวกรรม
  48. การขายและการบำรุงรักษายานยนต์หรือการซ่อมยานยนต์
  49. สวนสัตว์หรือสวนสนุก
บัญชี 3
  1. ธุรกิจสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
  2. ธุรกิจหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
  3. สหกรณ์ตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์
  4. การประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิตหรือการประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย
  5. โรงรับจำนำตามกฎหมายว่าด้วยโรงรับจำนำ
  6. โรงถ่ายทำภาพยนต์หรือละคร
  7. สวนพฤกษศาสตร์
  8. สนามกีฬาหรือการนันทนาการ
  9. สถานที่มีอาหาร สุรา หรือเครื่องดื่มอย่างอื่นจำหน่าย โดยจัดให้มีการแสดงดนตรีหรือการแสดงอื่นใดเพื่อการบันเทิง
  10. สำนักงานบริหารของสถานประกอบกิจการตามบัญชี 1 และบัญชี 2

มีวันหมดอายุ เมื่อครบ 2 ปี โดยกฎหมายกำหนดวาระการทำงานของ คณะกรรมการความปลอดภัยฯในการทำงาน ได้กำหนดรุ่นละ 2 ปี 

หากรุ่นเก่ากำลังจะหมดอายุ บริษัทต้องเตรียมพร้อมอบรมรุ่นที่ 2 เข้ามาแทนที่ก่อนหมดอายุการทำงานก่อน 30 วัน

เมื่อผู้สมัครผ่านการทำสอบจะได้รับ วุฒิบัตรยืนยันผ่านการอบรม สามารถนำไปขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

หลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

หลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานตาม กฎกระทรวง การจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงานหรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ.2565

อบรม จป

ติดต่อ / บริการช่วยเหลือ

ติดต่อสอบถามด้านการให้บริการเราพร้อมยินดีให้คำแนะนำโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และ สามารถสอบถามปัญหาต่างๆทางออนไลน์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

เกี่ยวกับ

บริษัท เซฟตี้ เมมเบอร์ จํากัด

บริการจัดฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานตามที่กฎหมายกำหนด

สาระน่ารู้

ติดต่อเรา

@2024 – All Right Reserved. Designed and Developed by safetysupervisor.com