อบรมจป เทคนิค พร้อมมอบวุฒิบัตร ลดราคา 50% 

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับเทคนิค (จป.เทคนิค) คือ บุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งจากบริษัทให้ดูแล และรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงาน บุคคลเหล่านี้จะได้รับการส่งเข้ารับการอบรมจป เทคนิค เพื่อเสริมสร้างความรู้และทักษะที่จำเป็นตามข้อกำหนดของกฎหมาย

 

การอบรมนี้มุ่งเน้นให้ผู้เข้าอบรมมีความเชี่ยวชาญ ในการจัดการกับสถานการณ์ต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นภายในสถานที่ทำงาน และสามารถปฏิบัติหน้าที่ในการรักษามาตรฐานความปลอดภัยอย่างเป็นมืออาชีพ พร้อมที่จะนำความรู้และทักษะไปปฏิบัติเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยสำหรับทุกคนในองค์กร

Safety Supervisor

ให้บริการฝึกอบรมหลักสูตร จป หัวหน้างาน , จป บริหาร , จป เทคนิค , อบรม คปอ ได้รับอนุญาตจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน พร้อมมอบส่วนลดพิเศษให้กับคุณ

ตารางอบรม จป เทคนิค ปี 2567

ลงทะเบียนจองวันอบรม จป เทคนิค แบบบุคคลทั่วไป รุ่นละไม่เกิน 40 คน เปิดลงทะเบียนทั้ง 8 จังหวัดแล้ววันนี้

สิงหาคม – ตุลาคม 2567

วันที่
ราคา/ท่าน
สมัคร
19-23 ส.ค
7,300
16-20 ก.ย
7,300
15-19 ต.ค
7,300

สิงหาคม – พฤศจิกายน 2567

วันที่
ราคา/ท่าน
สมัคร
26-30 ส.ค
5,900
23-27 ก.ย
5,900
25-29 พ.ย
5,900

หมายเหตุ :

สิ่งที่จะได้รับ :

  • วุฒิบัตร (สามารถนำไปขึ้นทะเบียนได้)
  • คู่มือเรียน
  • มีอาหารกลางวัน / น้ำ / ขนม ระหว่างการอบรม
อบรม จป เทคนิค

รายละเอียดหลักสูตร จป เทคนิค

เรียนบทบาทหน้าที่ของ จป เทคนิค ตามตำแหน่ง กฎหมายใหม่ความปลอดภัย 2565 เพื่อทราบถึงแนวทางการทำงาน จป เทคนิค อย่างมืออาชีพ เปิดอบรมทั้งอินเฮ้าส์ และบุคคลทั่วไป

ระยะเวลาอบรม

ใช้ระยะเวลารวมทั้งหมด 5 วัน (30 ชั่วโมง)

เนื้อหาหลักสูตร

เนื้อหาตามกฎหมายครบ 6 หมวด

วิทยากร

ทีมวิทยากรมีคุณสมบัติตามกฎหมาย และได้ขึ้นทะเบียนทุกคน

บริการอบรมอินเฮ้าส์ ลด 40%

เลือกใช้บริการอบรม จป คปอ แบบอินเฮ้าส์ที่คุณสนใจ ได้ที่นี่

หลักสูตร จป.หัวหน้างาน

แบบอินเฮ้าส์

24,000 บาท

หลักสูตร จป.บริหาร

แบบอินเฮ้าส์

24,000 บาท

หลักสูตร จป.เทคนิค

แบบอินเฮ้าส์

67,500 บาท

หลักสูตร คปอ

แบบอินเฮ้าส์

24,000 บาท

หลักสูตรจป เทคนิค ปี 2567 เรียนอะไรบ้าง

กฎกระทรวง การจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงานหรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ.2565 ได้กำหนดเนื้อหาหลักสูตรจป เทคนิค ทักษะที่จำเป็นในการทำงานไว้ในหมวดที่ 1 ข้อ 2 มีเนื้อหาการเรียนดังนี้

ระยะเวลา การฝึกอบรม 3 ชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชา          

(ก) ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยฯ ในการทำงาน

(ข) หลักการบริหารจัดการความปลอดภัยในการทำงาน

(ค) บทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค           

ระยะเวลาการฝึกอบรม 3 ชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชา

(ก) การบริหารกฎหมายความปลอดภัย ในการทำงานของกระทรวงแรงงาน

 (ข) สาระสำคัญของกฎหมายความปลอดภัยในการทำงาน และการนำกฎหมายไปสู่การปฏิบัติ

(ค) การตรวจสอบและเสนอแนะให้นายจ้าง ปฏิบัติตามกฎหมายความปลอดภัยในการทำงาน

ระยะเวลา การฝึกอบรม 6 ชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชา                     

(ก) เทคนิคการชี้บ่งอันตราย

(ข) การประเมินความเสี่ยง

(ค) การจัดทําแผนการดําเนินงานเพื่อลดความเสี่ยงและควบคุมอันตราย

ระยะเวลา การฝึกอบรม 6 ชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชา 

(ก) การตรวจความปลอดภัย

(ข) การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย

(ค) การจัดทําคู่มือว่าด้วยความปลอดภัยในการทํางาน

(ง) การสอบสวน การวิเคราะห์ และการรายงานอุบัติเหตุและการเจ็บป่วยจากการทํางาน

(จ) การปรับปรุงสภาพการทํางาน

(ฉ) การรวบรวมสถิติ การจัดทํารายงานด้านความปลอดภัยในการทํางาน และเสนอแนะต่อนายจ้าง                    

ระยะเวลา การฝึกอบรม 3 ชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชา                     

(ก) การป้องกันและควบคุมอันตราย จากเครื่องจักร

(ข) การป้องกันและควบคุมอันตราย จากไฟฟ้า

(ค) การป้องกันและควบคุมอันตราย จากการเคลื่อนย้ายและการจัดเก็บวัสดุ

(ง) การป้องกันและระงับอัคคีภัย ในสถานประกอบกิจการ

(จ) การป้องกันและควบคุมอันตราย จากสภาพแวดล้อมในการทํางาน

(ฉ) การป้องกันและควบคุมอันตราย จากสารเคมี

(ช) การป้องกันและควบคุมปัญหา ด้านการยศาสตร์

(ซ) การป้องกันและควบคุมอันตราย ในงานก่อสร้าง

(ณ) อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล

ระยะเวลา การฝึกอบรม 9 ชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชา 

(ก) การฝึกปฏิบัติการตรวจความปลอดภัยตามข้อกําหนดของกฎหมาย

(ข) การฝึกปฏิบัติการชี้บ่งอันตราย การประเมินความเสี่ยง และการจัดทําแผน การดําเนินงาน เพื่อลดความเสี่ยงและควบคุมอันตราย

(ค) การฝึกปฏิบัติการจัดทําคู่มือว่าด้วยความปลอดภัย ในการทํางานของหน่วยงาน

(ง) การฝึกปฏิบัติการสอบสวน การวิเคราะห์ และการรายงานอุบัติเหตุและการเจ็บป่วย

(จ) การฝึกปฏิบัติการปรับปรุงสภาพการทํางาน

(ฉ) การฝึกปฏิบัติการจัดทํารายงานด้านความปลอดภัยในการทํางาน                    

— Safety Supervisor — 

จป.เทคนิค ต้องอบรมเมื่อไหร่

ในการอบรม จป เทคนิคเมื่อองค์กรต้องมี จป.เทคนิค ในการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยให้กับองค์กร ตามกฎกระทรวง การจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงานหรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ.2565 กำหนด ประเภทองค์กรที่ต้องมีคือ  บัญชีที่ 2 

 

  • มีพนักงาน 20-49 คน ต้องมี จป.เทคนิค อย่างน้อย 1 คน
  • มีพนักงาน 50-99 คน ต้องมี จป.เทคนิคขั้นสูง อย่างน้อย 1 คน

หน้าที่ จป.เทคนิค มีอะไรบ้าง >>

ตารางแต่งตั้ง-จป-ตามกระทรวง-2565-safety-member

หากไม่มี จป.เทคนิค ตามกฎหมายกำหนดจะเป็นอย่างไร

ตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 

 

มาตรา 13: กำหนดให้นายจ้างต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงานหรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบการตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้

 

นอกจากนี้ยังมีมาตร 16 และมาตร32 ที่หากนายจ้างไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ออกโดยคำสั่งตามมาตรานี้ จะถูกโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

คุณสมบัติ จป เทคนิค
คุณสมบัติ จป เทคนิค แท็บเลต

คุณสมบัติของผู้ปฏิบัติงาน จป.เทคนิค ตามกฎหมาย

ผู้ที่ต้องปฏิบัติหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ระดับเทคนิค (จป.เทคนิค) ในสถานประกอบกิจการต่างๆ จะต้องมีคุณสมบัติตามที่ได้ระบุไว้ในกฎกระทรวงว่าด้วยการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน พ.ศ. 2565 ดังนี้

 

  1. การผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับเทคนิค: คุณจะต้องผ่านการฝึกอบรมจากหลักสูตร จป.เทคนิค ซึ่งอบรมเกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติหน้าที่ในการดูแลและจัดการเรื่องความปลอดภัยในสถานประกอบการอย่างมีประสิทธิภาพ

  2. ประสบการณ์การเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับเทคนิค: หากคุณเคยดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับเทคนิคในอดีตตามข้อกำหนดของกฎกระทรวงที่กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 นั้น ก็ถือว่าเป็นคุณสมบัติที่เหมาะสม

  3. คุณสมบัติตามข้อ 18 หรือข้อ 21 ของกฎกระทรวง: ข้อ 18 และข้อ 21 ระบุถึงคุณสมบัติสำหรับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับเทคนิคขั้นสูงและระดับวิชาชีพตามลำดับ

หากคุณมีคุณสมบัติที่ตรงตาม 1ใน 3ข้อนี้ ก็สามารถรับหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับเทคนิคได้อย่างถูกกฎหมาย

ทำไมต้องอบรม จป. เทคนิค

การอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับเทคนิคหรือ “จป.เทคนิค” ช่วยเสริมสร้างทักษะให้กับเผู้ปฏิบัติงาน เพื่อให้พวกเขาสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์จริงได้อย่างมั่นใจและเหมาะสม ตั้งแต่การจัดการความเสี่ยง การตรวจสอบ การประเมินสภาพแวดล้อมการทำงาน ไปจนถึงการวางแผนและการปฏิบัติหน้าที่เมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน 

 

เมื่อกฎหมายและมาตรฐานความปลอดภัยมีการเปลี่ยนแปลง การอบรมจะช่วยให้เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยอัปเดตความรู้และปรับตัวตามกฎหมายใหม่ได้ทันท่วงที สิ่งนี้ช่วยรับประกันว่าองค์กรจะสามารถตอบสนองต่อความปลอดภัยให้กับพนักงานทุกคนได้ทันที

คำถามที่พบบ่อย

หลักสูตร จป.เทคนิค ตามกฎหมายใช้เวลาอบรมไม่น้อยกว่า 30 ชั่วโมง

ในการอบรม จป.เทคนิค จำเป็นต้องผ่านการอบรม จป.หัวหน้างานและได้รับการยืนยันผ่านการอบรม จป หัวหน้างานมาก่อน

บัญชี 1
  1. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการทำเหมืองตามกฎหมายว่าด้วยแร่
  2. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับกิจการปิโตรเลียมตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม
  3. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับปิโตรเคมี
  4. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม
  5. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการแยกก๊าซธรรมชาติ
บัญชี 2
  1. อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์
  2. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหาร
  3. อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม
  4. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากยาสูบ
  5. อุตสาหกรรมสิ่งทอ
  6. อุตสาหกรรมเสื้อผ้าหรือเครื่องแต่งกาย
  7. อุตสาหกรรมเครื่องหนัง
  8. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากไม้
  9. อุตสาหกรรมกระดาษหรือผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากกระดาษ
  10. อุตสาหกรรมการผลิตสารเคมีหรือเคมีภัณฑ์
  11. อุตสาหกรรมเภสัชภัณฑ์หรือเวชภัณฑ์ทางการแพทย์
  12. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง
  13. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก
  14. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ที่ทำจากแร่อโลหะ
  15. อุตสาหกรรมโลหะหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากโลหะ
  16. อุตสาหกรรมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
  17. อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า
  18. อุตสาหกรรมเครื่องจักรหรือเครื่องมือกล
  19. อุตสาหกรรมยานพาหนะ ชิ้นส่วนยานพาหนะ หรืออุปกรณ์เสริมสำหรับยานพาหนะ
  20. อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์
  21. อุตสาหกรรมเครื่องประดับ
  22. อุตสาหกรรมเครื่องดนตรี
  23. อุตสาหกรรมอุปกรณ์กีฬาออกกำลังกาย
  24. อุตสาหกรรมของเล่น
  25. อุตสาหกรรมเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์
  26. อุตสาหกรรมการผลิต การจัดส่ง หรือการจ่ายไฟฟ้า
  27. อุตสาหกรรมการผลิตหรือการบรรจุก๊าซ
  28. อุตสาหกรรมการผลิตถ่านโค้ก
  29. อุตสาหกรรมการผลิต การเก็บ หรือการจำหน่ายไอน้ำ
  30. อุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์หรือการเพาะปลูก
  31. สถานีบริการตามกฎหมายว่าด้วยการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง
  32. คลังน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง
  33. การให้บริการบำบัดน้ำเสียหรือกำจัดของเสียตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
  34. อุตสาหกรรมการนำวัสดุที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่
  35. อุตสาหกรรมการแต่งแร่ การขุดแร่รายย่อย หรือการร่อนแร่ตามกฎหมายว่าด้วยแร่
  36. การก่อสร้าง การดัดแปลง การซ่อมแซม หรือการรื้อถอนอาคารตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
  37. อุตสาหกรรมการขนส่ง
  38. การบริการการเดินอากาศตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศ
  39. กิจการคลังสินค้า กิจการไซโล หรือกิจการห้องเย็นตามกฎหมายว่าด้วยคลังสินค้า ไซโล และห้องเย็น
  40. กิจการโทรคมนาคมตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม
  41. การติดตั้ง การซ่อม หรือการซ่อมบำรุงเครื่องจักร
  42. โรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม
  43. กิจการนิติบุคคลอาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด
  44. ห้างสรรพสินค้า ธุรกิจค้าปลีก หรือธุรกิจค้าส่ง
  45. ศูนย์การจัดประชุมและการแสดงสินค้า
  46. โรงพยาบาล
  47. การทดสอบและวิเคราะห์การปฏิบัติการทางกายภาพ เคมี ชีวภาพ หรือวิศวกรรม
  48. การขายและการบำรุงรักษายานยนต์หรือการซ่อมยานยนต์
  49. สวนสัตว์หรือสวนสนุก
บัญชี 3
  1. ธุรกิจสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
  2. ธุรกิจหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
  3. สหกรณ์ตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์
  4. การประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิตหรือการประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย
  5. โรงรับจำนำตามกฎหมายว่าด้วยโรงรับจำนำ
  6. โรงถ่ายทำภาพยนต์หรือละคร
  7. สวนพฤกษศาสตร์
  8. สนามกีฬาหรือการนันทนาการ
  9. สถานที่มีอาหาร สุรา หรือเครื่องดื่มอย่างอื่นจำหน่าย โดยจัดให้มีการแสดงดนตรีหรือการแสดงอื่นใดเพื่อการบันเทิง
  10. สำนักงานบริหารของสถานประกอบกิจการตามบัญชี 1 และบัญชี 2

เมื่อผู้สมัครผ่านการทำสอบจะได้รับ วุฒิบัตรยืนยันผ่านการอบรม สามารถนำไปขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

หลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

หลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานตาม กฎกระทรวง การจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงานหรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ.2565

อบรม จป

ติดต่อ / บริการช่วยเหลือ

ติดต่อสอบถามด้านการให้บริการเราพร้อมยินดีให้คำแนะนำโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และ สามารถสอบถามปัญหาต่างๆทางออนไลน์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

เกี่ยวกับ

บริษัท เซฟตี้ เมมเบอร์ จํากัด

บริการจัดฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานตามที่กฎหมายกำหนด

สาระน่ารู้

ติดต่อเรา

@2024 – All Right Reserved. Designed and Developed by safetysupervisor.com